รีวิวงาน Bangkok Art Biennale 2018 (Part 3): เสาะหาศิลปะในวัดวาอาราม

หลังจากครั้งก่อนๆ เราได้รีวิวเส้นทาง City Route และ River Route #1 ของ Bangkok Art Biennale 2018 ไปแล้ว วันนี้ขอมาต่อด้วยเส้นทางสุดท้ายที่เราไปก็คือ River Route #2 ในส่วนของวัด

อ่านไม่ผิด ใครที่ไม่รู้มาก่อนอาจจะงงว่ามีงานศิลปะจัดแสดงในวัดด้วยเหรอ ขอบอกว่ามี เยอะด้วย

ไม่เชื่อก็ดูพิกัดได้ที่นี่ แปะอีกรอบเผื่อใครลืม

babroute
Source: BAB Guide Book (http://www.bkkartbiennale.com/wp-content/uploads/pdf/BAB2018GUIDEBOOK.pdf)

สำหรับทริปนี้เราได้ไปเยือนมา 3 วัด ก็คือวัดประยุรวงศาวาส วัดอรุณฯ และจบที่วัดโพธิ์ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือรายชื่อวัดที่เค้าจัดแสดงงานนั่นแหละ ใครที่คิดจะไปเยือนเส้นทางนี้ จริงๆ สามารถไปพร้อมวันที่ไปแถบ East Asiatic ได้นะ เพราะไหนๆ ก็ริมแม่น้ำเหมือนกัน แต่เราอยากไปแบบชิวๆ เลยแยกออกเป็นสองวัน

ใครได้ไปในวันที่อากาศเย็นสบาย ขอให้รู้ไว้เลยว่าคุณโชคดีมาก เพราะเราไปในวันที่อากาศร้อนมาก สภาพคือร่างเปื้อนเหงื่อผิวแห้งผากมากบอกเลย มันก็สนุกแต่เหมือนสนุกไม่เต็มที่เพราะแดดแผดเผาตลอด ฉะนั้นถ้าใครคิดจะไปเที่ยววัดก็ลองหาวันสบายๆ แดดไม่แรงดู

เช่นเคยเลย ใครจะไปเดินงานอย่าลืมติดตั้งแอป BAB + พกไกด์บุ๊กไปด้วย สำหรับพิกัดวัดนี่ขอบอกเลยว่าไกด์บุ๊กค่อนข้างมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะสำหรับใครที่ไม่เชี่ยวชาญเส้นทางในวัด เพราะในไกด์บุ๊กจะมีระบุว่างานชิ้นไหนอยู่ตรงจุดไหน ซึ่งในแอปมันไม่มี ความพีคคือบางทีเดินไปตามจุดที่ไกด์บุ๊กบอกแล้วก็ยังไม่เจอ ต้องถามพนักงานเอา อ่านไปเรื่อยๆ เดี๋ยวจะบอกว่าเป็นจุดไหน

เราเริ่มต้นออกเดินทางสายๆ อีกเช่นเคย ขึ้น MRT แล้วต่อ BTS ไปยังสถานีสะพานตากสิน ตอนนี้ขึ้นเรือคล่องแล้วขอบอก หลังจากทุลักทุเลเมื่อทริปก่อน ครั้งนี้ทำการบ้านมาก่อนแล้วว่าต้องขึ้นเรือไหนตรงไหนยังไงสถานีไหน! มุ่งตรงไปที่ท่าเรือสาธร แล้วต่อคิวขึ้นเรือด่วนเจ้าพระยาธงส้มเลย เสียค่าบริการ 15 บาทเพื่อมุ่งไปยังท่าเรือสะพานพุทธ คือจุดแรกที่เราจะไปเยือนนั่นก็คือวัดประยุรวงศาวาส

เมื่อถึงที่หมายแล้ว (ความจริงคือนั่งเลยไปหนึ่งท่าเรือด้วยเพราะลงไม่ทัน ฮา) ก็ตรงไปข้ามสะพานพุทธ ถ้าเผลอนั่งเลยสะพานพุทธแบบเราก็ยังเดินย้อนกลับมาได้ ไม่ไกลมาก ตอนเดินสะพานพุทธนี่ทำให้เข้าใจคำว่า “อากาศเป็นใจ” เลย เพราะวันนั้นอย่างที่บอกคือแดดทรมานทรกรรมมาก ยังไม่ถึงจุดหมายแรกเหงื่อก็ซ่กแล้วจ้า

เดินข้ามมาอีกฝั่งเสร็จแล้ว ก็เดินอีกแป๊บนึงถึงจะเจอวัดประยุรวงศาวาส เจอทางเข้าก็เดินเข้าไปเลย ด้านขวามือเราจะเจอส่วนที่จัดแต่งเป็นสวนอย่าง “เขามอ” ซึ่งตรงนี้คือจุดแรกของงานที่เราจะไปดูกัน ทางเข้าเขามอนี่จะอยู่หลบๆ หน่อย ต้องเดินเบี่ยงไปทางขวานิดๆ ถึงจะเจอประตูทางเข้าแบบออฟฟิเชียล (ไม่ใช่ทางเข้ามีเชือกกั้นแบบประตูแรก)

img_8001
ทางเข้าเขามอ

เข้าไปแล้วเราก็จะเจอประติมากรรมเต่าวางเรียงราย มีตัวสีเงินๆ ที่ขยับเขยื้อนได้ด้วยถ้าเราเดินผ่าน มาถึงตรงนี้ก็ใช้เวลาสักแป๊บเดินเล่นชมทัศนียภาพเขามอกันไป

img_8006
“Turtle Religion” by Krit Ngamsom ตัวสีเงินๆ ตรงกลางนั่นอะขยับได้

เสร็จแล้วก็ออกมาเพื่อไปโซนด้านซ้ายมือ จะเจออาคารที่มีป้ายสีเขียวๆ ของ BAB ต้อนรับเราอยู่ ที่อาคารนี้จะมีจัดแสดงอยู่ 2 ชั้น เราขึ้นไปชั้น 2 ก่อนเพราะป้ายตรงนั้นเตะตามาก รู้ว่ามีงานบนนั้นแน่ๆ ซึ่งเราก็จะได้พบกับโถงอันกว้างใหญ่ที่มีชิ้นงาน 3 ชิ้น

img_8013
“Zodiac Houses” by Montien Boonma
img_8014
“Monuments of the Memory, the Golden Room” by Paolo Canevari
img_8015
“Chat…Na” by Arnont Nongyao

เสร็จจากข้างบน ข้างล่างก็มีแสดงงานเช่นกัน เข้าไปในห้องจะรู้สึกล้ำยุคมาก ข้างในจะเป็นห้องที่มีกระจกสีชมพูกั้น แนวดี

img_8018
“Sweet Boundary: In The Light Tube” by Kamol Phaosavasdi ข้างนอกล้ำมาก
img_8017
“Sweet Boundary: In The Light Tube” by Kamol Phaosavasdi ข้างในสีหวานเชียว

โซนนี้เก็บหมดแล้ว ก็มาถึงอีกหนึ่งไฮไลต์อย่างทางเดินหัวกะโหลกเซรามิกที่รายล้อมรอบเจดีย์ ความศักดิ์สิทธิ์อยู่ตรงที่ทางเดินนี้เคียงคู่ไปกับที่เก็บอัฐิผู้ล่วงลับด้วย ยิ่งเพิ่มความขลัง และความล้ำลึกของสารที่ชิ้นงานต้องการจะสื่อยิ่งขึ้นไปอีก เราสามารถขึ้นไปเดินบนหัวกะโหลกได้ด้วยนะ แต่ต้องถอดรองเท้า และเดินเบาๆ

img_8020
“What Will You Leave Behind?” by Nino Sarabutra ทางเดินขลังมาก
img_7941
“What Will You Leave Behind?” by Nino Sarabutra

เก็บจบครบทุกมุมแล้ว ก็แวะไปไหว้พระก่อนจะเดินกลับทางเดิม (ข้ามสะพานพุทธอันร้อนระเหย) กลับไปที่ท่าเรือสะพานพุทธ แล้วขึ้นเรือมุ่งตรงไปท่าเรือวัดอรุณฯ

วัดอรุณฯ นี่ชิ้นงานไม่เยอะเท่าไร ตอนที่เราไปเหลืออยู่แค่ 3 ชิ้น ก็คือโซนเขามอที่รายล้อมด้วยกระจกแดง รูปปั้นยักษ์คู่ และรูปปั้นครุฑ ซึ่งทั้ง 3 ชิ้นนี้อยู่จุดเดียวกันเลย

img_8021
“Giant Twins” by Komkrit Tepthian
img_8022
“Garuda” by Komkrit Tepthian
img_8023
ทางเข้า “Across The Universe and Beyond” by Sanitas Pradittasnee
img_8025
“Across The Universe and Beyond” by Sanitas Pradittasnee

จริงๆ ตรงพระนอนก็มีอีกงาน คือเป็นเสื้อที่เขียนคำว่าศรัทธา เราเห็นเสื้อแล้วละแต่ไม่แน่ใจว่าเอามาสวมใส่อะไรยังไงได้มั้ย พอไม่เห็นมีใครใส่ก็เลยไม่ได้ใส่

เสร็จจากวัดอรุณฯ ก็นั่งเรือข้ามฟาก (4 บาท) ไปที่วัดโพธิ์ ที่นี่มีชิ้นงานเยอะขึ้นอีกนิดนึง และค่อนข้างกระจัดกระจาย ซึ่งไกด์บุ๊กช่วยแนะทางเราได้ดีมากๆ เพราะหลายชิ้นงานในวัดโพธิ์นั้นค่อนข้างหลบมุม เป็นเรื่องที่ดีเหมือนกันเพราะได้ความสงบขึ้นมาหน่อย

img_7982
“Zuo You He Che” by Huang Yong Ping
img_8033
“Sediments of Migration” by Pannapan Yodmanee
img_8038
“Knowledge in Your Hands, Eyes and Minds” by Phaptawan Suwannakudt
img_8039
“Knowledge in Your Hands, Eyes and Minds” by Phaptawan Suwannakudt
img_8040
“Knowledge in Your Hands, Eyes and Minds” by Phaptawan Suwannakudt เมื่อมองมาจากกลางบึง
img_8042
“A Shadow of Giving” by Tawatchai Puntusawasdi นี่คือชิ้นลับที่อยู่หลังวัด ไม่ได้อยู่ตามแผนที่ไกด์บุ๊ก

จบไปแล้วกับวันสุดท้ายของการตะลุยดูงาน BAB 2018 ซึ่งลงท้ายด้วยความหิวสุดๆ จริงๆ ยังอยากไปเก็บที่อื่นๆ ให้ครบ แต่พิกัดอยู่นอกเส้นทางเกินไป คงไม่มีโอกาสได้ไป TT แต่แค่นี้เราก็รู้สึกเต็มอิ่มแล้วละเพราะเก็บงานไปได้เยอะกว่าที่คาดมาก เป็นการเปิดประสบการณ์การเสพงานศิลป์ทั่วกรุงจริงๆ ซึ่งถ้าไม่มีงานนี้ เราคงไม่มีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ที่เหมือนการเล่นเกมเก็บแต้มไปทั่วเมือง

ตั้งหน้าตั้งตารอ BAB 2020 *-*

ข้อมูลสถานที่:
วัดประยุรวงศาวาส
เปิด: จันทร์ – อาทิตย์
08:00 – 17:30

วัดอรุณฯ
เปิด: จันทร์ – อาทิตย์
08.00 – 17.30

วัดโพธิ์
เปิด: จันทร์ – อาทิตย์
08:00 – 17:30

หมายเหตุ: งาน Bangkok Art Biennale จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2018 – 3 กุมภาพันธ์ 2019

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Blog at WordPress.com.

Up ↑

%d bloggers like this: